กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2564 ณ จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย พร้อมกันบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสมาคมการเกษตรเยอรมัน (DLG) ครอบคลุมทั้งงานประชุม งานแสดงสินค้า และการเยี่ยมชมฟาร์ม – ร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงานโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,ประเทศไทย
งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์และรูปแบบปกติระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2564 พร้อมนำเสนอระบบนวัตกรรมทางการเกษตรและบริการที่หลากหลายเพื่อการปรับปรุงการผลิตให้แก่เกษตรกร ตลอดจนการพบปะผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมโอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับผู้ประกอบการผู้ซื้อ และผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ภายใต้ธีมการจัดงาน “การผลิตอัจฉริยะสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน” ซึ่งจะกล่าวถึงความท้าทายของการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนสำหรับเกษตรกรจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย โดยงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit ซึ่งจัดโดย สมาคมการเกษตรเยอรมัน (DLG) และ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จะจัดขึ้นที่โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ณ ศูนย์กลางการผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยของประเทศไทย และเพื่อให้งานมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผู้จัดมีการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มออนไลน์ DLG CONNECT เข้ามาทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เข้าร่วมประชุมทั้งในสถานที่จริงและทางออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน การประชุมสุดยอดนี้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ประเทศไทย
การผลิตพืชผลนั้นถือเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งระบบอาหารเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาการดำรงชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในทุกระดับด้วยเช่นกัน เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับการดำเนินการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนโดยเกษตรกรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยเกษตรไทย จึงเกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น คุณกมลชนก นันทบุรม ผู้จัดการโครงการ กล่าวถึงสิ่งที่ผู้เข้าร่วมงานสามารถคาดหวังได้จากงานในครั้งนี้ “งานประชุมสัมมนาสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มระหว่างประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้น และข้อมูลที่เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการผลิตในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรและตลาดเป็นหลัก เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้นำเสนองานระดับนานาชาติ ณ ศูนย์กลางการผลิตหลักทางการเกษตรอย่างจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่นอย่างล้นหลาม” คุณกมลชนก นันทบุรมย์ กล่าว
โปรแกรมการประชุม: ระบบการผลิตในท้องถิ่น
ภายในงานจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรมากกว่า 50 ท่านมาร่วมบรรยายทั้งจากประเทศไทยและนานาชาติ นำเสนอหัวข้อต่างๆ อาทิ การผลิตอ้อย การผลิตมันสำปะหลัง การผลิตข้าว การผลิตข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนการทำฟาร์มที่ชาญฉลาดและแม่นยำ การปกป้องวัชพืช ระบบการจัดการน้ำ และการทำฟาร์มแบบคลัสเตอร์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมใหม่ อย่างเช่น การทำฟาร์มแนวตั้งและเศรษฐศาสตร์ชีวภาพ
“เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรมากคุณภาพในการร่วมประชุมครั้งนี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย การรวมตัวกันของเหล่าผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย และจากภาคเอกชนที่จะมาแบ่งปันนวัตกรรมล่าสุด รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานจริงที่จะสาธิตแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดจากภาคสนาม จึงทำให้งานนี้เป็นเป็นเวทีที่ดีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” คุณ Katharina Staske ผู้จัดการโครงการอธิบาย“
“การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 นั้นทำให้วิถีชีวิต การทำงาน และความคาดหวังต่ออนาคตของเราเปลี่ยนไป การประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติ ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง” หรือ “Decade of Actions” นั้นได้ปลุกโลกให้ตื่นขึ้นด้วยความจริงที่ว่า พวกเราต้องทำงานร่วมกันในการสร้างอนาคตของระบบอาหารและการเกษตรเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ของสหประชาชาติ หน่วยงานรัฐบาลเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายแผนงานในการสร้างระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นขึ้นได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งในบริบทนี้ งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จะเป็นสถานที่ที่รวบรวมความรู้และนวัตกรรมจากนานาประเทศ ที่จะนำเสนอแนวทางแก้ไขเชิงเทคนิคให้แก่เกษตรกรและธุรกิจในท้องถิ่นของเรา จากการแลกเปลี่ยนของกระทรวงเกษตรระหว่างประเทศไทยและประเทศเยอรมนีที่ผ่านมา เราตั้งตารอที่จะร่วมมือกันในทุกระดับมากขึ้น ตั้งแต่รัฐบาลกับรัฐบาล ธุรกิจกับธุรกิจ และที่สำคัญที่สุดคือระดับเกษตรกรกับเกษตร” ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ สำนักกิจการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของงานในเดือนพฤศจิกายนนี้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและการลงทะเบียน:
www.agritechnica-asia.com/regional-summit หรือ www.horti-asia.com/regional-summit/
###
เกี่ยวกับ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค
วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค หนึ่งในกลุ่มบริษัทเครือ วีเอ็นยูฯ ดำเนินกิจการด้านการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศต่างๆทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมืองอูเทร็คท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นมีสาขาในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และ กรุงเทพ ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติของกลุ่มบริษัท Royal Dutch Jaarbeurs สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Royal Dutch Jaarbeurs ได้ร่วมทุนกับ บริษัท TCC Assets ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทชั้นแนวหน้าที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในภูมิภาค ทำให้บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ดำเนินกิจการครอบคลุมตลาดเอเชียแปซิฟิกได้อย่างสมบูรณ์ มีการจัดงานแสดงสินค้าและกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งรูปแบบปกติและทางออนไลน์มากกว่า 19 งาน โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สัตว์เลี้ยง อาหาร เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการ, ชีววิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี 5G และ IoT และการจัดการกับภัยภิบัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม www.vnuasiapacific.com
เกี่ยวกับองค์กรเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG)
องค์กรเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2428 โดย Max Eyth โดยเป็นองค์กรที่ปรึกษาชำนาญการในด้านให้คำแนะนำแก่องค์กรเกษตรกรรม ธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร จุดประสงค์ของ DLG คือการมอบความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อช่วยพัฒนาส่งเสริมการทำงานของเกษตรกร DLG มีสมาชิกมากกว่า 30,000 คน ซึ่งเป็นองคก์รอิสระที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่ทั่วโลก และเนื่องจากเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำในด้านการเกษตร DLG จึงได้จัดงานแสดงสินค้าด้านเครื่องมือและเครื่องจักรกลการเกษตร เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มรวมไปถึงปัจจัยการผลิตต่างๆในฟาร์ม พร้อมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่ร่วมพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมเกษตร, ธุรกิจการเกษตร และอาหาร
สื่อมวลชนต่างชาติ ติดต่อ:
Guido Oppenhäuser
โทร: +49 6924788-213
อีเมล G.Oppenhaeuser@dlg.org
Malene Conlong
โทร: +49 6924788-237
อีเมล M.Conlong@dlg.org
สื่อมวลชนประเทศไทย ติดต่อ:
คุณแสงทิพ เตชะปฏิภาณดี
โทร. 02-1116611 ต่อ 330 (วีเอ็นยูฯ)